วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

Mind Map การศึกษา 21st century

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ศิษย์ในศตวรรษที่  21
ลักษณะ 8 ประการของเด็กสมัยใหม่ดังนี้
มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ
ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการ
ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร
ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทางสังคม
การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต
ปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้  5 ประการคือ
• Authentic learning การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง
• Mental model building การเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์
• Internal motivation การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ
• Multiple intelligence มนุษย์เรามีพหุปัญญา
• Social learning การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)
ความเข้าใจบทบาทของการศึกษา ในศตวรรษที่ 21
 บทบาทของการศึกษาในยุคความรู้ ได้แก่
 1. เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม
 2. เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน
 3. เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ
 4. เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21
ครูต้องจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ครูต้องตอบได้ว่า ศิษย์ได้เรียนอะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้เรียนสิ่งเหล่านั้น โดยยึดหลัก สอนน้อย เรียนมาก เพื่อจุดไฟในตัวศิษย์ให้รักในการเรียนรู้
ศาสตราใหม่ สำหรับครูเพื่อศิษย์
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือ 3R x 7C
3R Reading อ่านออก
     (W)Riting เขียนได้
     (A)Rithmetics คิดเลขเป็น
7C Critical thinking & problem solving ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
      Creativity & innovation ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
      Cross-cutural understanding ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
      Collaboration, teamwork & leadership ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
      Communications, information & media literacy ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
      Computing & ICT literacy ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      Career & learning skills ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้
                                                        

พัฒนาสมองห้าด้าน
1.สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) มีความรู้และทักษะในวิชาระดับเชี่ยวชาญและสามารถพัฒนาตนเองในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
2.สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ปฏิบัตินำ ทฤษฎีตาม
3.สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind) คือคิดนอกกรอบ แต่ต้องเก่งความรู้ในกรอบก่อน
4.สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศาสนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 มีความหลากหลาย จึงต้องให้เกียรติคนที่มีความแตกต่างจากตน
5.สมองด้านจริยธรรม (ethical mind) จะถูกปลูกฝังกล่อมเกลามาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่มาจนโต
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และการแก้ปัญหา (problem solving) หมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (expert thinking)
2. การสื่อสาร (communication) และความร่วมมือ (collaboration) หมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (complex communicating)
3. ความริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation) หมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นทักษะสำคัญ ประเด็นสำคัญสำหรับครูเพื่อศิษย์คือ ต้องแสวงหาวิธีการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์พัฒนาทักษะนี้ (ทุกช่วงอายุ)  รวมทั้งครูก็ต้องฝึกฝนทักษะนี้ของตนเองด้วย
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • ทักษะด้านสารสนเทศ (Information Literacy)
  • ทักษะด้านสื่อ (Media Literacy Skills)
  • ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)
ทักษะด้านความเป็นนานาชาติ
ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกทักษะด้านความเป็นนานาชาติให้แก่ศิษย์ สามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีทักษะความเป็นนานาชาติได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีครูชาวต่างประเทศ การฝึกทักษะด้านนี้ทำได้โดยออกแบบการเรียนแบบ PBL (Project-Based Learning)
ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต
จะต้องเรียนตามพัฒนาการของสมอง ครูจะต้องเรียนรู้วิธีการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL ให้แก่ศิษย์ตามพัฒนาการของสมองเด็กแต่ละคน เพราะทักษะกลุ่มนี้สอนไม่ได้ เด็กต้องเรียนเอง ใช้วิธีชวนกันถอดบทเรียนหลังงานสำเร็จเพื่อช่วยให้การเรียนรู้ลึกซึ้งและกว้างขวางยิ่งขึ้น
ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
สามารถทำงานและดำรงชีวิตอยู่กับสภาพแวดล้อมและผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้อย่างไม่รู้สึกเครียด และทำให้งานสำเร็จได้ เป็นเรื่องของการเรียนรู้และยกระดับความฉลาดด้านสังคม และความฉลาดด้านอารมณ์ของศิษย์
แนวคิดการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
จงอย่าชมความสามารถให้ชมความมานะพยายาม เพื่อทำให้สิ่งที่มีคุณค่า คือความมานะพยายามความสำเร็จที่ได้มาจากความบากบั่นเอาชนะอุปสรรคจงอย่าชื่นชมความสำเร็จที่ได้มาโดยง่าย
การเรียนรู้อย่างมีพลัง
เครื่องมือของการเรียนรู้อย่างมีพลังคือ "จักรยานแห่งการเรียนรู้" ซึ่งมีวงล้อประกอบด้วย 4 ส่วน คือ Define, Plan, Do และ Review  วงล้อมี 2 วง วงหนึ่งเป็นของนักเรียน อีกวงหนึ่งเป็นของครู หลักสำคัญคือ วงล้อจักรยานแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนกับครูต้องไปด้วยกันอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
PLC คือเครื่องมือ ให้ครูทุกคนได้มีโอกาส
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยมีเป้าหมายหลัก
ที่ผลการเรียนรู้ของนักเรียน 
  • สมดุลระหว่างความง่ายกับความยาก กลไกประหยัดการคิด
  • ความคิดกับความรู้เกื้อกูลกัน ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ
  • เพราะคิดจึงจำ
  • ความเข้าใจคือความจำจำแลงสู่การฝึกตนฝนปัญญา
  • ฝึกฝนจนเหมือนตัวจริง
  • สอนให้เหมาะต่อความแตกต่างของศิษย์ ทฤษฎีผู้เรียนแบบเน้นจักษุประสาท แบบเน้นโสตประสาท และแบบเน้นการเคลื่อนไหว
  • ช่วยศิษย์ที่เรียนอ่อน จงชื่นชมพรแสวงของศิษย์ให้มากกว่าพรสวรรค์
  • ฝึกฝนตนเอง
  • เปลี่ยนมุมความเชื่อเดิมเรื่องการเรียนรู้
บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้
กำเนิดและอานิสงส์ของ PLC
     ริชาร์ด ดูฟูร์ (Richard Du Four) เป็น “บิดาของ PLC” ทำงานวิจัยพัฒนาและส่งเสริม PLC มาตั้งแต่ คศ. 1998 คือ พ.ศ. 2541
     หัวใจสำคัญที่สุดของ PLC คือ เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่ดีของครูในยุคศตวรรษที่ 21 ที่การเรียนรู้ในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย ต้องเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจาก“ครูสอน” มาเป็น “ครูฝึก” หรือครูผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน ห้องเรียนต้องเปลี่ยนจากห้องสอน มาเป็นห้องทำงาน เพราะในเวลาเรียนส่วนใหญ่ นักเรียนจะเรียนเป็นกลุ่ม และทำงานร่วมกัน (การเรียนแบบโครงการ) 
เมื่อนักเรียนบางคนเรียนไม่ทัน
แนวทาง SPEED ได้แก่
Systematic (ทำเป็นระบบ)  มีการดำเนินการเป็นระบบทั้งโรงเรียน ไม่ใช่เป็นภาระของใครคนหนึ่ง
Practical (ทำอย่างเหมาะสม) การดำเนินการช่วยเหลือเป็นไปได้ตามทรัพยากรที่มีอยู่ของโรงเรียน (เวลา พื้นที่ ครู และวัสดุ) และดำเนินการได้ต่อเนื่องยั่งยืน
Effective (ทำอย่างได้ผล)  มีเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมสำหรับช่วยเหลือนักเรียนที่แตกต่างกัน และเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ได้ผลดีแก่นักเรียนทุกคน
Essential (ทำส่วนที่จำเป็น) ระบบช่วยเหลือต้องทำแบบมุ่งเน้นที่
ประเด็นเรียนรู้สำคัญตามผลลัพธ์ของการเรียนรู้ ที่กำหนดโดยการทดสอบทั้งแบบประเมินเพื่อพัฒนา และ แบบประเมินได้-ตก
Directive (ทำแบบบังคับ) ระบบช่วยเหลือต้องเป็นการบังคับ ต้องดำเนินการในเวลาเรียนตามปกติ ครูหรือพ่อแม่ไม่มีสิทธิ์ขอยกเว้นให้แก่นักเรียนคนใด 
PLC เป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนชีวิตครู
เปลี่ยนจาก“ผู้สอน" เป็น “นักเรียน” เปลี่ยนจากโดดเดี่ยวเป็นมีเพื่อน มีกลุ่ม รวมตัวกันเป็นชุมชน ทำงานแบบปรึกษาหารือและช่วยเหลือกันโดยมีเป้าหมายที่เด็ดเดี่ยวชัดเจนคือ ผลการเรียนทักษะเพื่อการดำรงชีวิตของศิษย์ทุกคน มีการจัดการเรียนเสริมแก่ศิษย์ที่เรียนไม่ทันเพื่อให้กลับมาเรียนทัน
เรื่องเล่าตามบริบท
เตรียมทำการบ้านเพื่อการเป็นครู
การสอนที่ได้ผลเป็นเรื่องของจิตวิทยามากกว่าการเรียนการสอน “ครูสามารถกำหนดให้นักเรียนนั่งถือหนังสือห่วย ๆ ได้ทั้งวันแต่จะไม่มีวันบังคับให้นักเรียนอ่านหนังสือนั้นได้” 
ให้ได้ความไว้วางใจจากศิษย์
ครูต้องเรียนรู้ เสาะหา ทดลอง วิธีสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กอยากเรียน รู้สึกสนุก และมีความสุขในชั้นเรียนและในกิจกรรมการเรียน
สอนศิษย์กับสอนหลักสูตรแตกต่างกัน
การสอนศิษย์เน้นที่การเรียนรู้ของศิษย์ ไม่ใช่เน้นที่การสอนของครู และไม่ใช่เน้นการสอนให้ครบตามเอกสารหลักสูตร 
ถ้อยคำที่ก้องอยู่ในหูเด็ก
คำพูดเชิงบวกต่อเด็กแต่ละคนมีผลต่อการสร้างพลังในชีวิตของเด็กมากแค่ไหน และในทางตรงกันข้าม คำพูดเชิงลบเหยียดหยันเด็กจะทำลายชีวิตเด็กได้มากเช่นกัน
เตรียมตัว เตรียมตัว และเตรียมตัว
ครูต้องเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเปิดเทอม 2 - 3 สัปดาห์ เพื่อให้ตนเองพร้อมที่สุดกับการจัดการชั้นเรียน
จัดเอกสารและเตรียมตนเอง
การเตรียมตัวจัดระบบเอกสารช่วยให้ครูมีระบบ ไม่ต้องพึ่งความจำมากเกินไป และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำสัปดาห์แรกให้เป็นสัปดาห์ แห่งความประทับใจ
ให้เด็กอ่านและเขียนปฏิกิริยาของตนต่อบทความ ซึ่งจะช่วยให้ครูรู้จักพื้นฐานหลากหลายด้านของนักเรียนแต่ละคน เช่น ทักษะในการเขียน บุคลิก ความมั่นใจที่จะแสดงความคิดเห็นของตน และความร่วมมือกับครู
เตรียมพร้อมรับ “การทดสอบครู” และสร้างความพึงใจแก่ศิษย์
จัดการพฤติกรรมที่รบกวนการเรียนรู้ของชั้นเรียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในวันแรก ๆ ของปีการศึกษา 
วินัยไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ
วินัยมี 2 ด้าน คือ วินัยเชิงบวกกับวินัยเชิงลบ 
สร้างนิสัยรักเรียน
ครูต้องนำชีวิตของนักเรียนเข้าสู่ความสนุกสนานในการเรียน ซึ่งจะทำให้มีนิสัยรักเรียน อย่าปล่อยให้ศิษย์ตกอยู่ใต้สภาพความทุกข์ระทมในการเรียนซึ่งจะทำให้มีนิสัยเกลียดการเรียน
การอ่าน
การอ่านหนังสือไม่แตกคืออุปสรรคอันดับ 1 ของการเรียนให้ได้ผล อ่านไม่เก่งเท่าคนอื่น ทำให้เกิดจิตใต้สำนึกที่เกลียดการอ่าน
ศิราณีตอบปัญหาครูและนักเรียน
ประเด็นตัวอย่างคำถามจากครู 
- ครูภาษาอังกฤษ ชั้น ม. 2 เขียนมาปรึกษาว่า ได้รับคำแนะนำ จากคนบางคนให้ “ตัดหางปล่อยวัด” ศิษย์บางคน เพราะเหลือขอ  จริง ๆ คำแนะนำคือ ต้องไม่ท้อถอย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้อง  “ชาร์จแบต” ของตนเองเป็นระยะ ๆ อย่าให้ “แบตหมด”
ประหยัดเวลาและพลังงาน
แผนการสอนที่ถูกต้องจะช่วยให้ครูทำงานอย่างมีระบบ ยืดหยุ่นและประหยัดเวลา
ยี่สิบปีจากนี้ไป
ยี่สิบปีหรือสี่สิบปีให้หลัง ครูอาจจำนักเรียนไม่ได้ แต่นักเรียนจะจำครูได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ที่ประทับใจศิษย์ไม่รู้ลืม โดยที่ครูไม่คิดว่าสิ่งที่ตนทำจะมีความหมายถึงขนาดนั้นต่อนักเรียน
มองอนาคต...ปฏิรูปการศึกษาไทย
เรียนรู้จาก Malcolm Gladwell
การเห็นคุณค่าและเคารพความแตกต่างหลากหลายของผู้คน และนี่คือทักษะสำคัญอย่างหนึ่งในทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่ครูเพื่อศิษย์ไทยจะต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ของตนเกิดทักษะนี้จนกลายเป็นนิสัย นิสัยเคารพความเห็น ความรู้สึกของผู้อื่นที่แตกต่างจากความเห็น ความรู้สึกของตน    
Inquiry-Based Learning
     IBL (Inquiry-Based Learning) เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนตั้งคำถาม ทำความชัดเจนของคำถาม แล้วดำเนินการหาคำตอบเอาเอง 
Learning คือเป็นรูปแบบการเรียนที่ผู้เรียนได้ฝึกฝนความริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ ในศตวรรษที่ 21 ต้องเน้นการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะส่งเสริมความริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะในการเรียนรู้ และ ทักษะการคิดอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเป็นทีม 
ทักษะการจัดการสอบ
ทักษะในการออกข้อสอบและจัดการสอบในบรรยากาศที่ทำให้ศิษย์รู้ความก้าวหน้าของตนเอง รู้ว่ายังบกพร่องหรืออ่อนด้านไหน สำหรับใช้ปรับปรุงการเรียนของตนเอง เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับครูเพื่อศิษย์
PLC สู่ TTLC หรือชุมชนครูเพื่อศิษย์
     PLC (Professional Learning Community) หมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) วิชาชีพครู ชุมชนครูเพื่อศิษย์ หรือ ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชร. คศ.) คือการรวมตัวกัน “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.)” 
แรงต้านที่อาจต้องเผชิญ
     1. นโยบายการศึกษายังเป็นนโยบายสำหรับยุคอุตสาหกรรม เน้น mass education และเน้นประสิทธิภาพ
     2. ระบบตรวจสอบและระบบวัดผลแบบทดสอบตามมาตรฐาน (standardized testing systems) ที่เน้นวัดความสามารถด้านทักษะพื้นฐาน เช่นการอ่าน การคิดเลข แต่ไม่วัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
     3. แรงเฉื่อยหรือความคุ้นเคยกับระบบการสอนแบบครูบอกเนื้อหาวิชาให้นักเรียนจดจำ เปลี่ยนไปทำหน้าที่ช่วยเหลือเด็กให้สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านการค้นพบ การสำรวจ และการเรียนจากโครงงาน(PBL)
     4. ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมพิมพ์จำหน่ายตำราเรียน
     5. ความหวั่นกลัวว่าความรู้เชิงทฤษฎีจะถูกละเลย หันไปให้ความสำคัญต่อทักษะมากเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความรู้ 2แนวนี้ต้องเกื้อกูล(synergy) ซึ่งกันและกัน
     6. อิทธิพลของพ่อแม่ที่ยึดติดกับการเรียนแบบดั้งเดิมที่ตนเคยเรียนมาและทำให้ตนประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน จึงอยากให้ลูกหลานได้เรียนตามแบบที่ตนเคยเรียน สอบข้อสอบที่ตนเคยสอบ
สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
     1. ยกเลิกระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของครู (คศ.) ที่ใช้ในปัจจุบัน คือให้ “ทำผลงาน” ในกระดาษ
     2. มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของศิษย์ทั้งโรงเรียนหรือทั้งเขตการศึกษา
     3. ปราบปรามคอรัปชั่นเรียกเงินในการบรรจุหรือโยกย้ายครู
     4. แบ่งเงินลงทุนเพิ่มด้านการศึกษา
     5. จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำปี
     6.ยกระดับข้อสอบ National Education Test (NET)
     7. ส่งเสริมการเรียนแบบ Project-Based Learning (PBL)





   
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น